เกลือหิมาลัย (Himalayan Salt) เกลือธรรมชาติเพื่อคนรักสุขภาพ

เกลือที่มีสีชมพู เรียกว่า เกลือหิมาลัย หรือ เกลือหิมาลายัน ที่มีแหล่งต้นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัยในประเทศปากีสถาน ซึ่งกว่าจะได้มานั้นต้องผ่านการระเหย และตกผลึกของน้ำทะเลในสมัยโบราณเมื่อหลายล้านปีก่อน จนกลายเป็นผลึกเกลือสีชมพู

เกลือหิมาลายัน ไม่มีการเติมสารเคมีหรือสารปรุงแต่งใดๆ เป็นธรรมชาติและมีแร่ธาตุ ด้วยความพิเศษนี้เอง จึงเป็นเกลือที่พิเศษกว่ากว่าเกลือชนิดอื่น  และมีรสชาติเค็มออกหวานนิดๆ เหมาะสำหรับในกลุ่มคนที่รักสุขภาพที่มีการรับประทานอาหารที่ไม่ค่อยปรุงแต่งรสชาติ

ประโยชน์ที่จะได้รับจากเกลือหิมาลายัน

  1. ช่วยควบคุมความสมดุลของของเหลวในร่างกาย และรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ
  2. รักษาสมดุลของความเป็นกรด – เบสในเซลล์ โดยเฉพาะเซลล์สมอง
  3. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  4. ช่วยในการดูดซึมสารอาหารจากอาหาร
  5. เสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก
  6. ช่วยให้สมอง กล้ามเนื้อ และระบบประสาททำงานได้ดีขึ้น
  7. ช่วยให้ระบบทางเดินหายใจ โดยการสูดไอเกลือ
  8. ช่วยควบคุมความดันโลหิต ให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
  9. ใช้ปรุงอาหารหรือผสมในเครื่องดื่มต่าง ๆ เพื่อเพิ่มแร่ธาตุและความสดชื่นให้แก่ร่างกาย

นอกจากนำมาบริโภคแล้ว ยังนำมาทำทำสปา นวดสครับ ทำให้ผิวสวยใสขึ้นได้อีกด้วย ใช้แปรงฟัน และบ้วนปากป้องกันโรคเหงือกได้

ถึงแม้ประโยชน์บางข้อจะยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยมารับรอง ไม่มีงานวิจัยที่ศึกษาเปรียบเทียบประโยชน์ของเกลือแกงและเกลือชมพูที่เพียงพอ  แต่ยังไงในปัจจุบันนี้ เกลือหิมาลัยก็ได้รับความนิยมแพร่หลายขึ้น

สิ่งที่ต้องจำเป็นต้องระมัดระวัง ในการบริโภคเกลือหิมาลัย

เกลือก็คือ โซเดียม หากได้รับมากเกินไปก็เป็นโทษ

โซเดียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย  ต้องการไม่มากแต่ขาดไม่ได้  ตามคำแนะนำกรมอนามัยโลก แหล่งของโซเดียม ใน 1 วัน ตามคำแนะนำ คือ ไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน  ซึ่งเทียบเท่ากับเกลือป่นประมาณ 1 ช้อนชาต่อวัน ซึ่งถ้าหากบริโภคในปริมาณที่มาก มีผลทำให้ไตทำงานหนัก  หัวใจทำงานหนักมากขึ้น ใครที่มีภาวะความดันโลหิตสูง จะทำให้ควบคุมความดันโลหิตได้ยากขึ้นอีกด้วย

บริโภคเกลือหิมาลัย อาจ ได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอ

ในแต่ละวันร่างกายต้องการไอโอดีนเพียงเล็กน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้  ไอโอดีนเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ เพื่อให้อวัยวะส่วนต่างๆ ทำงานได้อย่างเป็นปกติ  เกลือหิมาลัยนั้นมีปริมาณไอโอดีนน้อยกว่าเกลือป่นที่บริโภคกันทั่วไป  ผู้ที่หันมาบริโภคเกลือหิมาลัยจึงอาจได้รับไอโอดีนไม่เพียงพอที่ร่างกายต้องการ และควรเสริมไอโอดีนด้วยการกินอาหารทะเล เช่น กุ้ง หอย สาหร่าย รวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากนม เพื่อป้องกันการขาดสารไอโอดีน และยังสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน เช่น น้ำปลา ซอส ซีอิ๊ว เป็นต้น

ประโยชน์ของ เกลือหิมาลัย

เกลือหิมาลายันดีกว่าเกลือชนิดอื่นๆ