สัตว์ประจำชาติ อาเซียน 10 ประเทศ แสดงความเป็นประเทศผ่านสัตว์แต่ละชนิด

วันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ “สัตว์ประจำชาติ อาเซียน” ของประเทศต่างๆ ภายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบไปด้วยสัตว์สายพันธุ์อะไรบ้างและเอกลักษณ์ของสัตว์เหล่านี้ว่ามีจุดเด่นอะไรที่หลายประเทศถึงยกย่องให้กลายมาเป็นสัตว์ประจำชาติ ลองมาชมไปพร้อมกันได้เลย ดังต่อไปนี้

สัตว์ประจำชาติ อาเซียน 10 ประเทศ

ช้าง – ประเทศไทย Thailand

เริ่มต้นด้วยสัตว์ประจำชาติไทยอย่าง “ช้าง” กล่าวได้ว่าเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่ยุคโบราณ ผู้คนสมัยโบราณนิยมใช้ช้างสำหรับการต่อสู้กับข้าศึก แต่ยุคปัจจุบันสัตว์ดังกล่าวเริ่มมีจำนวนลดลงอย่างน่าใจหาย จนทางภาครัฐต้องดำเนินนโยบายอนุรักษ์ช้างอย่างเข้มข้นเลยทีเดียว

สิงโต – ประเทศสิงคโปร์ Singapore

นอกจาก “สิงโต” จะเป็นสัตว์ประจำชาติสิงคโปร์ (Singapore)แล้ว ยังเป็นแลนด์มาร์คสำคัญตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ของประเทศอีกด้วย เป็นสัญลักษณ์แห่งความเข้มแข็ง กล้าหาญ และพละกำลังอันมหาศาล สมกับการเป็นประเทศพัฒนาแล้วเพียงชาติเดียวของภูมิภาคอาเซียน

กระบือ – ประเทศเวียดนาม Vietnam

ถัดมาจะเป็น “กระบือ” หรือ “ควาย” สัตว์ประจำชาติเวียดนาม สะท้อนถึงความเป็นสังคมเกษตรกรรม อาศัยการเลี้ยงชีพด้วยการทำไร่ทำนา และเป็นชาติผู้ส่งออกข้าวเป็นลำดับต้นๆ ของโลกอีกด้วย ซึ่งเคยล้มตำแหน่งแชมป์ของประเทศไทยมาได้แล้วก่อนหน้านี้

ช้าง – ประเทศลาว (Laos People’s Democratic Republic)

นอกจาก “ช้าง” เป็นสัตว์ประจำชาติไทยแล้ว หลายคนอาจจะไม่เคยทราบมาก่อนว่าเป็นสัตว์ประจำชาติลาว (Laos People’s Democratic Republic) ด้วยเหมือนกัน โดยยุคอดีตที่ผ่านมาประเทศลาวเคยถูกเรียกว่าเมืองล้านช้างมาก่อน

เสือโคร่ง – ประเทศเมียนมาร์ (Myanmar)

สำหรับสัตว์อันทรงพลัง อย่าง “เสือโคร่ง” ถูกเลือกเป็นสัตว์ประจำชาติเมียนมาร์ (Myanmar) โดยแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ภายในประเทศดังกล่าว และแสดงถึงพลังอำนาจสุดน่าเกรงขาม

มังกรโคโมโด – ประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia)

สัตว์ประจำชาติประเทศอินโดนีเซีย (Indonesia) ชาวไทยหลายคนอาจจะไม่ค่อยรู้จักสัตว์หายาก อย่าง “มังกรโคโมโด” โดยเป็นสัตว์เลื้อยคลานคล้ายๆ กับกิ้งก่า พบเห็นค่อนข้างยากมาก โดยส่วนใหญ่จะเจอตามเกาะโคโมโด หรือละแวกใกล้เคียง ซึ่งไร้การอาศัยอยู่ของมนุษย์

กระบือ – ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)

สัตว์ประจำชาติประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines) “กระบือ” หรือคนไทยส่วนใหญ่เรียกว่า “ควาย” สะท้อนลักษณะวิถีชีวิตของชาวบ้าน เกี่ยวกับการทำไร่ทำนาหาเลี้ยงชีพ หรือใช้สำหรับการช่วยลากท่อนซุงออกจากป่า

เสือโคร่งมลายู – ประเทศมาเลเซีย Malaysia (Kuala Lumpur)

มาต่อกันด้วยสัตว์ประจำชาติมาเลเซีย (Kuala Lumpur) อย่าง “เสือโคร่งมลายู” สัตว์ชนิดดังกล่าวปรากฏอยู่บนตราแผ่นดินของประเทศมาเลเซีย สะท้อนถึงความกล้าหาญ และพละกำลังอันแข็งแกร่งของประชาชนภายในประเทศ

กูปรี – ประเทศกัมพูชา (Cambodia)

สำหรับสัตว์ประจำชาติกัมพูชา (Cambodia) จะเป็นสัตว์ชนิด “กูปรี” ถูกจัดเป็นหนึ่งในสัตว์จำพวกกระทิง แต่หาได้ค่อนข้างยากในยุคปัจจุบัน เพราะมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง

เสือโคร่ง – ประเทศบรูไน (Brunei Darussalam)

ปิดท้ายด้วย “เสือโคร่ง” สัตว์ประจำชาติบรูไน (Brunei Darussalam) โดยสอดคล้องกับลักษณะภูมิศาสตร์ของประเทศ ซึ่งแวดล้อมไปด้วยภูเขาน้อยใหญ่ และป่าไม้หนาทึบเป็นจำนวนมาก ภายในประเทศบรูไนจึงยังสามารถพบเห็นเสือโคร่งสายพันธุ์เอเชียได้ค่อนข้างเยอะในยุคปัจจุบัน

อ่านข่าว >> แมงเมาท์มอย