ลายมือน่ารักๆ รวมเทคนิคการเขียนตัวหนังสือสวยน่าอ่านสไตล์วัยรุ่น

ลายมือน่ารักๆ กับการเขียนหนังสือของแต่ละคนมีลักษณะของลายมือแตกต่างกันออกไป บางคนมีลายมือสวยงามน่ารัก ขณะที่บางคนกลับมีลายมือหยาบจนแทบอ่านไม่ออก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการฝึกฝนตั้งแต่วัยเด็ก หากใครมีความบรรจงหรือตั้งใจพยายามฝึกหัดเขียนหนังสืออยู่เสมอ อาจมีลายมือสวยงามกว่าคนอื่นๆ เป็นธรรมดา แม้ว่าจะผ่านพ้นช่วงวัยเรียนมานานนับสิบๆ ปีแล้ว แต่ยังไม่สายเกินไปหากใครอยากกลับมาฝึกหัดเขียนหนังสือให้ลายมือออกมาสวยงามน่ารัก และอ่านเข้าใจง่าย แน่นอนว่าทางเรานำเทคนิคดีๆ มาฝากกันเช่นเคย

เรามาฝึกเขียนตัวหนังสือ ลายมือน่ารักๆ กันเลย

ช่วงที่ผ่านมาเพื่อนๆ หลายคน อาจจะเขียนหนังสือด้วยลายมืออ่านยากมาโดยตลอด จนบางครั้งมีความคิดอยากลองฝึกหัดการเขียนใหม่ เพื่อเปลี่ยนลายมือของตัวเองอีกครั้ง วันนี้อยากชวนทุกคนมาลองจับปากกาดินสอกันสักหน่อย พร้อมด้วยความพยายาม และความตั้งใจอันเต็มเปี่ยม เชื่อว่าลายมือน่ารักๆ สวยงามๆ สไตล์วัยรุ่น ไม่น่าจะไกลเกินเอื้อม เพียงแต่ต้องพยายามหมั่นฝึกฝนอย่างเป็นประจำ โดยเทคนิคต่างๆ ที่จะมาแนะนำภายในบทความนี้ ประกอบไปด้วยเทคนิคอะไรบ้างลองมาชมไปพร้อมกันเลย

เทคนิคการเขียนหนังสือแบบมีหัว

เริ่มต้นด้วยเทคนิคอันดับแรก ในการพยายามฝึกเปลี่ยนลายมือ คือ ต้องเขียนอักษรทุกตัวให้มีหัว เพราะการเขียนหนังสือแบบมีหัว นอกจากจะมีความสวยงามน่ารักแล้ว ยังช่วยให้อ่านง่ายกว่าเดิมอีกด้วย แถมยังจัดระเบียบตัวอักษรต่างๆ ภายในบรรทัดดังกล่าว ให้ดูมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยยิ่งขึ้นกว่าเดิม แต่อย่าเขียนเพลินจนลืมความบรรจง โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ อาจทำให้ลายมือออกมาผิดแปลกไปจากความคาดหวัง

เทคนิคการเขียนหนังสือตัวตรง

หลังจากฝึกฝนการเขียนหนังสือมีหัวจนเกิดความชำนาญแล้ว ต้องพยายามเขียนหนังสือตัวตรง แม้ว่าอยากจะเลียนแบบสไตล์วัยรุ่น แต่การเขียนหนังสือตัวตรงถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะหากเขียนแบบเอียงซ้าย หรือเอียงขวา ย่อมส่งผลให้การจัดระเบียบต่างๆ ภายในบรรทัดเกิดปัญหาอย่างแน่นอน ที่สำคัญควรเขียนประชิดขอบเส้นด้วย หากเขียนเหินขึ้นบนลงล่าง คนส่วนใหญ่อาจจะอ่านลายมือของเราไม่ออก

เทคนิคการเว้นช่องไฟตัวหนังสือ

พยายามเว้นช่องไฟของตัวหนังสืออย่างมีความเหมาะสม ไม่จำเป็นต้องเขียนประชิดกันมากจนเกินไป ควรรักษาระยะห่างแบบพอประมาณ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ช่วยให้สามารถอ่านได้อย่างคล่องแคล่ว แต่หากใครเขียนแบบประชิดกันมากจนเกินไป น่าจะทำให้บางคนไม่ค่อยอยากอ่าน ดังนั้นอย่าลืมฝึกฝนการเว้นระยะห่างอยู่บ่อยๆ ตรงส่วนนี้ถือว่าไม่ควรมองข้ามความสำคัญเป็นอันขาด

เทคนิคเขียนหนังสือตัวโค้ง

เทคนิคสุดท้าย คือ เน้นการฝึกเขียนตัวอักษรแบบโค้ง โดยสามารถมองหาแบบตัวอักษรต่างๆ จากอินเทอร์เน็ต จากนั้นพยายามฝึกหัดเขียนตามแบบดังกล่าวอย่างเป็นประจำจนเกิดความเคยชินในที่สุด การเขียนหนังสือแบบตัวโค้งทำให้ลายมือดูมีความน่ารักสวยงามตามสไตล์วัยรุ่นยุคนี้

ติดตามข่าวใหม่ >> ข่าวสุดปัง